ขั้นตอนแรกเลยคือทำตามข้อแนะนำการดูแลของผู้ผลิตหมวกกันน๊อคของคุณหรือทำตามวิธีต่อไปนี้ก็ได้
- ใช้สบู่อ่อน หลีกเลี่ยงการใช้ปิโตเลียม หรือของเหลวใดๆมาทำความสะอาด โดยเฉพะอย่างยิ่งถ้าคุณเป็นเจ้าของหมวกกันน็อคที่ทำมาจากโพลีคาร์บอเนต การสัมผัสกับสารที่ทำความสะอาดผิดประเภท สามารถทำให้หมวกกันน็อคเสียหาย ได้
- การทำความสะอาดกระจกหมวก (ชีลด์) นั้นโดยปกติแล้วจะใช้สบู่อ่อนๆ และใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำดช็ดตรงบริเวณนั้น หากชีลด์มีรอยขีดข่วน อาจทำให้มองเห็นยากขึ้นในตอนกลางคืน วิสัยทัศน์ในการมองเปลี่ยนไป รวมไปถึงการมองไฟบนท้องถนนด้วย
- หมวกกันน็อกมีลักษณะที่แข็งแรงและทนทาน แต่มันควรที่จะทะนุถนอมด้วยเช่นกัน หมายความว่าไม่ควรจะวางมันไว้บนพื้นแข็งๆมันอาจทำความเสียหายของหมวกได้
- อย่าพยายามเก็บหมวกไว้ใกล้กับน้ำเบนซิน ของเหลว หรืออยู่ใกล้ความร้อนมากเกินไป สิ่งเหลล่านี้อาจทำให้วัสดุภายในเสียหายได้ และมักจะส่งผลกระทบความเสียหายไปยังผู้สวมใส่ได้
อ่านข้อมูลที่มากับหมวกกันน็อก เพื่อคุณจะได้รู้วิธีการดูแลมันอย่างถูกต้อง
– ควรอ่านคำแนะนำเกี่ยวกับการตกแต่ง ทาสี หรือแปะสติ๊กเกอร์บนหมวกกันน็อคของคุณ อย่าแขวนหมวกไว้บนกระจกมอเตอร์ไซค์ หรือพนักพิง เพราะมันง่ายที่จะ “หาย”
– ถ้ามันถูกมัดใกล้กับชิ้นส่วนเครื่องยนต์ที่ร้อน หรือท่อไอเสีย ภายในหมวกอาจจะได้รับความเสียหายหรือละลาย. ภายนอกอาจไม่แสดงความเสียหายออกมาให้เห็น แต่ถ้าคุณได้สังเกตโฟมที่อยู่ใกล้ความร้อนมากเกินไปคุณจะสามารถเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น
– หากคุณมีแผนที่จะฟังเพลงตอนที่ขี่ไปด้วย ก่อนทีท่คุณจะซื้อหูฟัง ตรวจสอบกฎหมายของประเทศ ที่ควบคุมกาใช้งานเกี่ยวกับหมวกกันน็อค ที่คุณขับขี่ด้วยเพราะบางประเทศก็ห้ามใช้หูฟังขณะขับขี่มอเตอร์ไซค์
– เปลี่ยนหมวกกันน็อกบ้าง
ส่วนใหญ่ผู้ผลิตหมวกกันน็อกจะแนะนำให้เปลี่ยนหมวกทุก 2-4 ปี ถ้าคุณสังเกตเห็นร่องรอยของความเสียหายใดๆควรรีบเปลี่ยนทันทีหรือบางยี่ห้ออาจมีบริการซ่อมแซมแก้ไขให้ “ควรใช้ประโยชน์จากบริการนี้”
– หากมีคำถามที่ว่า ถ้าหมวกกันน็อคไม่ได้รับความเสียหายใดทำไมต้องเปลี่ยนในช่วงเวลาที่แนะนำ? เหตุผลคือ คุณภาพการป้องกันของมันจะลดลงด้วยระยะเวลา และการสวมใส่ สายรัดคางอาจหลุด
หากคุณจำไม่ได้ว่าซื้อหมวกมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ให้ดูตรงสายรัดคาง หรือการฉลาก
หมวกกันน็อคทุกใบจะมีเดือนและวันที่ผลิต หากไม่มีคุณควรจะเปลี่ยนใบใหม่แทนใบเก่าได้แล้ว